คู่มือเลี้ยง “เต่าบก” ในเบื้องต้น
ปัจจุบันนี้ได้มีผู้นิยมหันมาเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลาน (Reptile) กันมากขึ้น ด้วยเพราะสัตว์เลื้อยคลานหลายๆ ชนิดมีเสน่ห์ที่น่าหลงใหลในตัวเอง และที่สำคัญไม่ค่อยส่งเสียงร้องโวยวาย หรือวุ่นวายกับคุณมากมายนัก อีกทั้งยังมีความสวยงาม แปลก ไม่เหมือนใคร และหนึ่งในสัตว์เลื้อยคลานที่เป็นที่นิยมชนิดหนึ่งคือ “เต่าบก”
สำหรับมือใหม่ หรือผู้ที่คิดจะเลี้ยงเต่าบกควรจะรู้ในขั้นแรกๆ คือต้องศึกษาก่อนที่จะเลี้ยง ว่าเต่าแต่ละตัวที่เราเลี้ยงนั้นมีถิ่นกำเนิดมาจากที่ใด สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยในธรรมชาติเป็นอย่างไร อาหารที่รับประทานมีอะไรบ้าง เมื่อรู้ถึงธรรมชาติที่มาของเค้าแล้ว ก็มาดูว่าเราเองมีเวลาที่จะดูแลเค้าไหม มีพื้นที่เลี้ยงเขาเมื่อเติบโตขึ้นหรือไม่ มีเงินทุนสำหรับค่าอาหาร หรือค่ารักษาพยาบาลเมื่อไม่สบายหรือไม่ เมื่อศึกษาจนมั่นใจแล้วว่าพร้อมที่จะเริ่มเลี้ยงแล้ว ก็มาศึกษาในขั้นต่อไปได้เลย
การเลือกซื้อเต่าบก
สำหรับการเลือกเต่านั้น ไม่มีกฎตายตัวว่าตัวไหนสวยมากกว่า น้อยกว่า อยู่ที่ว่าแต่ละคนชอบแบบไหน เอาเป็นว่าเราเลือกตัวที่เราชอบดีกว่า เลือกตัวที่ถูกใจเรามากที่สุด สำหรับวิธีเลือกดูตอนซื้อนั้น เลือกตัวที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด โดยมีวิธีดูภายนอกคร่าวๆดังนี้
ขา – ควรเลือกตัวที่มีความสมบูรณ์ ขาไม่มีแผล ไม่มีร่องรอยแผล พยายามสังเกตว่าเดินเป็นปกติหรือไม่ โดยลองวางที่พื้น แล้วให้เต่าลองเดินดู ลองเลือกตัวที่เดินเก่งๆ เพราะมีอากาสที่จะแข็งแรงมากกว่าตัวที่มัวหดอยู่แต่ในกระดอง
เล็บ – เล็บครบไม่หัก ไม่กุด เพราะหากเล็บกุดแล้วนั้นโอกาสที่จะงอกใหม่นั้นใช้เวลานาน หรืออาจจะไม่งอกเลย อยู่ที่ว่ากุดไปมากแค่ไหน หากยังพอเหลือโคนเล็บอยู่ก็พอจะมีลุ้น โดยเล็บของเต่านั้นเท้าหน้าจะมี เล็บทั้งหมด 5 เล็บ และเท้าหลังมีทั้งหมด 4 เล็บ
กระดอง – เลือกที่กระดองได้สัดส่วน ไม่บุบ ไม่แตก ไม่เบิ้ล ไม่เบี้ยว ไม่บิ่น โดยแต่ละตัวนั้นมีโครงสร้างไม่เหมือนกัน บางคนชอบแบบทรงกระดองสูง บางคนชอบแบบกลมๆ แต่บางตัวอาจจะมีลักษณะกระดองปูด ให้หลีกเลี่ยงพวกที่มีกระดองปูดๆ เพราะเกิดจากได้รับโปรตีนมากเกินไป (อาจจะมีผลเกี่ยวกับอวัยวะภายใน เช่นตับไต)เลือกแบบที่เรียบๆ ไว้น่าจะดีกว่า
ก้น – ให้เลือกตัวที่ก้นปกติดี ไม่มีอาการบวมหรืออะไรที่แสดงความผิดปกติ บางตัวอาจจะมีอุจจาระติดอยู่ พยายามสังเกตว่าอุจจาระมีความปกติกหรือไม่ หากก้นมีลักษณะเป็นเมือกๆ เปียกๆ เหลวๆ ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจจะสุขภาพไม่ค่อยดี (อาจจะมีโปรโตซัว)
ตา – ให้เลือกตัวที่ดวงตามีความสดใส เป็นประกาย แสดงถึงสุขภาพที่แข็งแรง ไม่ควรเลือกตัวที่หลับตา ตาปิด หรือมีขี้ตามากกว่าปกติ หรือดวงตามีลักษณะจมลึกลงไป เพราะแสดงถึงความผิดปกติของตัวเต่า (อาจจะไม่สบาย หรืออาจจะขาดน้ำ)
น้ำหนัก – หากเป็นไปได้ลองเลือกตัวที่มีน้ำหนักค่อนข้างหนัก เพราะแสดงถึงความกินเก่ง และความสมบูรณ์ อย่าเลือกตัวที่ค่อนข้างน้ำหนักเบา เพราะอาจไม่กินอาหาร (แต่ก็มีข้อยกเว้น สำหรับเต่าที่เพิ่งเดินทางมาถึง อาจจะยังไม่ได้รับอาหาร หรืออาจจะยังตื่นอยู่จึงไม่กินอาหาร)
ผิวหนัง – สำหรับผิวหนังโดยทั่วๆไปก็เลือกแบบที่ไม่มีแผล หรือไม่มีรอยช้ำ ดูว่าไม่แห้งเหี่ยวจนเกินไป ดูมีน้ำมีนวล สีปกติไม่คล้ำหรือมีเลือดออก
อาหารสำหรับเต่าบก
สำหรับอาหารของเต่าบกโดยทั่วไปนั้นก็สามารถให้ผักตามท้องตลาดทั่วไป ผักที่นิยมโดยทั่วๆไป ก็ได้แก่ ผักบุ้ง กวางตุ้ง ใบยอ ใบหม่อน กระบองเพชรเสมา ใบบัวบก หญ้ามาเลเซีย ถั่วฝักยาว ผักหวาน แครอท ฟักทอง และผักพื้นบ้านทั่วๆไป ส่วนที่ไม่แนะนำให้กินก็พวกผักสลัดต่างๆ และกะหล่ำปลี เพราะมีสารที่ทำให้เกิดคอหอยพอกได้ ในเต่าแต่ละชนิดอาหารที่กินจะต่างกัน ตามถิ่นที่อยู่อาศัย เช่น หากเป็นเต่าซูคาต้า ซึ่งเป็นเต่าที่มาจากที่แห้งควรเน้นผักที่มีไฟเบอร์สูงๆ หรืออาจจะให้พวกหญ้า พยายามอย่าให้พวกผลไม้ เพราะในธรรมชาติจะกินหญ้าเป็นหลัก การให้ผักพยายามสลับๆ ผักแต่ละชนิดให้มากที่สุด อย่าให้ชนิดเดิมซ้ำๆ เพราะผักแต่ละชนิดมีแร่ธาตุไม่เหมือนกัน สำหรับเต่าเล็กๆ เราอาจจะนำผักมาสับๆ ให้เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อเต่าตัวเล็กจะได้กินกันสะดวก หากอยากให้มีแคลเซียมเพิ่มเติม เราสามารถนำกระดองปลาหมึกมาขูดให้เป็นผงๆ (หรือซื้อแคลเซียมสำเร็จรูปสำหรับสัตว์เลื้อยคลาน)โรยลงบนผักได้ เสริมแคลเซียมให้สักอาทิตย์ละครั้งก็น่าจะดี และในปัจจุบันมีอาหารเต่าบกสำเร็จรูปอย่าง Repcal และ Mazuri ทำให้ผู้เลี้ยง เลี้ยงเต่าได้สะดวก ง่าย และเต่ามีสุขภาพดี
และที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่งคือ น้ำ เพราะเต่าบกก็ต้องการน้ำเหมือนกัน เพราะบางครั้งน้ำจากผักอาจจะไม่เพียงพอ ควรจะมีถาดน้ำเตี้ยๆ ใส่ไว้ให้เมื่อเวลาที่เต่าหิวน้ำ แล้วสามารถลงไปกินเองได้ อีกทั้งยังช่วยปรับอุณหภูมิให้กับตัวเต่าอีกด้วย สำหรับในเต่าเล็ก ควรนำไปแช่น้ำอุ่นตื้นๆ สัก 10-15 นาที 3 – 4 วัน / ครั้ง
การแยกเพศ
สำหรับเต่านั้นวิธีดูเพศค่อนข้างจะยาก และไม่ค่อยแน่นอน ยิ่งในเต่าตัวเล็กๆ ด้วยแล้วนั้นยิ่งเป็นไปได้ยากมาก ต้องรอให้โตขึ้นมาสักหน่อย ถ้าจะให้แน่นอนต้องใช้วิธี X-Ray ส่วนมากวิธีที่ใช้ดูง่ายๆ ทั่วๆไปก็คือ ให้ดูที่ใต้กระดอง ถ้ากระดองค่อนข้างเรียบแบน และหางสั้น มีโอกาสที่จะเป็นตัวเมีย แต่หากที่ใต้กระดอง เป็นรอยเว้าลงไป และมีโคนหางค่อนข้างยาว ก็มีโอกาสที่จะเป็นตัวผู้ ที่ตัวผู้มีกระดองเว้าก็เพราะเวลาผสมพันธุ์จะได้ขึ้นไปคร่อมบนคัวเมียได้พอดี
การดูแลทำความสะอาด
สำหรับการดูแล ทำความสะอาดเต่านั้น ไม่ต้องทำบ่อยจนเกินไปเพราะเต่าอาจจะเครียดได้ สักเดือนละครั้งก็พอ วิธีทำความสะอาดง่ายๆ ก็นำลงไปแช่น้ำอุ่นในกะละมังตื้นๆ ใช้เพียงน้ำเปล่าสะอาดๆ ไม่ต้องใช้สบู่ หรือสารเคมีใดๆ แล้วใช้แปรงสีฟันนุ่มๆขัดตามกระดองเบาๆ เพื่อขจัดคราบสกปรก หลังจากนั้นนำมาเช็ดตัวให้แห้ง แล้วนำไปตากแดด ไม่ควรใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้นใช้ธรรมชาติเนี่ยแหละดีที่สุดแล้ว
สถานที่เลี้ยง สภาพแวดล้อม
สถานที่เลี้ยงก็เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเต่า ถ้าเป็นไปได้ควรเลียนแบบสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่จริงของเต่าแต่ละชนิด เช่นซูคาต้า จะอยู่แบบค่อนข้างแห้งๆ ร้อนๆ เรเดียต้า จะชอบอยู่ชื้นนิดหน่อย เราต้องศึกษาถึงสภาพแวดล้อมที่เค้าอยู่จริงว่าเป็นอย่างไร สถานที่เลี้ยงนั้น มีทั้งที่เป็น Indoor และ Outdoor อยู่ที่ความสะดวกและสถานที่ของท่านว่าจะอำนวยแบบไหนมากกว่ากัน ซึ่งแต่ละแบบมีข้อดี ข้อเสียแตกต่างกันไป
การเลี้ยงแบบ Indoor เหมาะสำหรับเต่าที่ขนาดยังเล็กอยู่ เพราะจะสามารถดูแลได้อย่างใกล้ชิด และป้องกันสัตว์อื่นมาทำร้าย การเลี้ยงแบบ indoor อาจจะเลี้ยงในกระบะ หรือพวกกล่องพลาสติกขนาดค่อนข้างใหญ่หน่อย เพื่อให้มีพื้นที่ในการออกกำลังกาย วัสดุที่ใช้รองพื้นก็อาจจะเป็น หนังสือพิมพ์ หรือ พวกซังข้าวโพด หากเลี้ยง indoor ควรมีหลอด UV และหลอดให้ความร้อนเตรียมไว้ด้วย (ใช้ตอนฝนตก หรืออากาศหนาว)หากจะให้ดี ในตอนเช้าควรน้ำมาแช่น้ำอุ่น เพื่อป้องกันการขาดน้ำและกระตุ้นการขับถ่าย และตากแดดตอนเช้าให้เป็นประจำเพื่อสุขภาพที่ดีของเต่า
การเลี้ยงแบบ Outdoor เหมาะสำหรับเต่าที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาสักหน่อย ไม่ต้องการ การดูแลมากนัก การเลี้ยง Outdoor มีข้อดีคือเต่าจะได้แสงแดด จากธรรมชาติ และมีพื้นที่กว้างขวางในการเดินออกกำลังกาย และได้อยู่ในสภาพอากาศที่ปลอดโปร่ง เป็นธรรมชาติ เต่าจะมีการเจริญ เติบโตค่อนข้างดี และสุขภาพแข็งแรง แต่ควรมีรั้วป้องกันให้มิดชิด เพราะเต่าค่อนข้างขุดเก่ง และเพื่อป้องกันสุนัข หรือแมว หรือสัตว์อื่นมารบกวน พื้นควรทำความสะอาดได้ง่าย จะได้ไม่เป็นที่หมักหมมของเชื้อโรค และควรมีถาดน้ำเตี้ยๆ วางไว้ให้ดื่ม หรือสามารถลงไปแช่ได้เมื่ออุณหภูมิสูงเกินไป และควรมีที่หลบให้ เพราะเวลาเต่านอนจะชอบซุกตัวตามมุมๆ หรือบริเวณที่เต่ารู้สึกว่าปลอดภัย หากทำที่หลบภัยให้จะช่วยลดความเครียดที่เกิดขึ้นกับตัวเต่าได้เป็นอย่างดี อาจจะนำต้นไม้มาวางเพื่อเป็นการให้ร่มเงา ควรจะเป็นต้นไม้ที่เต่ากินได้ด้วยเช่น ใบหม่อ ชบา ใบยอ เพื่อที่จะสามารถเด็ดให้เต่ากินด้วยได้ ปลอดสารพิษอีกตะหาก อาจจะมีการปลูกหญ้ามาเลย์เอาไว้เป็นอาหารเสริมด้วยก็ได้
อยากเลี้ยงเต่า ต้องมาหาเรา ReptileHiso.com
อยากได้อาหารเต่า ติดต่อเรา ReptileHiso.com
อยากได้อุปกรณ์เลี้ยงเต่า ติดต่อเรา ReptileHiso.com
ฟาร์มเต่ายักษ์ ReptileHiso จำหน่าย
ลูกเต่าบก, เต่าซูคาต้า, อาหารเต่าบก, Mazuri, Repcal, วิตามิน, แคลเซียม, ถาดอาหารเต่า, ถาดน้ำเต่า
อุปกรณ์เลี้ยงเต่า, หลอดไฟจำลองแสงอาทิตย์, หลอดความร้อน, หลอด UVA, หลอด UVB, ExoTerra, ZooMed
เต่าป่วย เต่าไม่สบาย อุปกรณ์ชุดหลอดไฟ จำลองแสงอาทิตย์ กระตุ้นการกิน การเดิน การดำรงชีวิต
ติดต่อ ReptileHiso ได้ที่ :
Line id : @003gtbnj
Add Line Official : https://lin.ee/XCKIL3n
Facebook Fanpage : http://www.fb.me/sayrepfanpage
web : http://www.reptilehiso.com
สนใจสินค้าเพื่อน้องเต่าสุดที่รัก คลิกเลย
Add Line@ Official Reptilehiso เพื่อรับสิทธิพิเศษมากมาย !
ID : @003gtbnj