23 พฤษภาคม สุขสันต์วันเต่าโลก World Turtle Day

World Turtle Day

World Turtle Day

วันที่ 23 พฤษภาคม ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น ‘วันเต่าโลก’ หรือ World Turtle Day โดย American Tortoise Rescue ซึ่งเป็นองค์ที่มีภารกิจเพื่ออนุรักษ์และช่วยเหลือเต่าบกและเต่าทะเล ตั้งอยู่ในรัฐ California ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เล็งเห็นถึงการให้ความรู้ต่อประชาชนเกี่ยวกับ และอยากปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์เต่า จึงได้กำหนดให้วันที่ 23 พฤษภาคมของทุกปีเป็น วันเต่าโลก (World Turtle Day) ตั้งแต่ปี 2543

ในประเทศไทยพบเต่าเพียง 6 วงศ์ เท่านั้น โดยรวมเต่าที่พบได้ในประเทศไทย (เฉพาะเต่าบก และเต่าน้ำจืด) สรุปได้ดังนี้

  • เต่าปูลู (Platysternon megacephalum)
  • เต่ากระอาน (Batagur baska)
  • เต่าลายตีนเป็ด (Callagur borneoensis)
  • เต่าหับ (Cuora amboinensis)
  • เต่าห้วยเขาบรรทัด (Cyclemys artipons)
  • เต่าใบไม้ (Cyclemys dentata)
  • เต่าห้วยคอลาย (Cyclemys tcheponensis)
  • เต่าหวาย (Heosemys grandis)
  • เต่าจักร (Heosemys spinosa)
  • เต่าบัว (Hieremys annandalei)
  • เต่าเหลือง (Indotestudo elongata)
  • เต่านาหัวใหญ่ (Malayemys macrocephala)
  • เต่านาอีสาน (Malayemys subtrijuga)
  • เต่าหก (Manouria emys) (มี 2 ชนิดย่อย)
  • เต่าเดือย (Manouria impressa)
  • เต่าปากเหลือง (Melanochelys trijuga)
  • เต่าทับทิม (Notochelys platynota)
  • เต่าปูลู (Platysternon megacephalum) (มี 3 ชนิดย่อย)
  • เต่าจัน (Pyxidea mouhotii)
  • เต่าดำ (Siebenrockiella crassicollis)
  • เต่าแก้มแดง (Trachemys scripta elegans) (ไม่ใช่เต่าพื้นเมืองของไทย แต่เป็นของสหรัฐอเมริกา ถูกนำเข้ามาในฐานะเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม ปัจจุบันได้แพร่ขยายพันธุ์ในแหล่งน้ำจนกลายเป็นสัตว์ประจำถิ่นไปแล้ว)

รู้หรือไม่ ? เต่าเป็นสัตว์กำหนดเพศได้ด้วยอุณหภูมิ

สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ถูกกำหนดเพศจากโครโมโซมของพ่อและแม่  แต่เต่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีการกำหนดเพศจากอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมโดยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิระหว่างการฟักไข่  หากไข่อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อุณหภูมิสูง (สูงกว่า 32 องศาเซลเซียส) จะออกมาเป็นเพศผู้  ในทางตรงกันข้าม  หากไข่อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อุณภูมิต่ำ (ต่ำกว่า 28 องศาเซลเซียส) ไข่จะฟักออกมาเป็นเพศเมีย  และหากอุณหภูมิฟักไข่อยู่ในช่วงปานกลาง (ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส)  เต่าจะมีอัตราการเกิดออกมาเป็นเพศผู้และเพศเมียเท่ากัน (50-50 %)

เต่าบก และ เต่าน้ำ ต่างกันอย่างไร  ?

 

ข้อเปรียบเทียบ เต่าบก

เต่าน้ำ

กระดอง รูปทรงกระดองส่วนมากมักเป็นโดม นูนสูง ขอบมีความหนา น้ำหนักมากกว่า กระดองเรียบ รูปทรงค่อนข้างแบน นูนต่ำ ขอบกระดองบาง มีน้ำหนักเบากว่าเต่าบก
ขาและเท้า ขามีเกร็ดขนาดใหญ่เพื่อใช้ขุดดินและป้องกันตัวเองจากนักล่าในธรรมชาติ

เท้ามีลักษณะกลมและมีเล็บที่แข็งแรงไว้ใช้ขุดดินและฉีกอาหาร

ที่ขาไม่มีเกร็ด มีผิวหนังค่อนข้างยืดหยุ่น

เท้ามีลักษณะแบน มีพังผืดระหว่างนิ้วเพื่อใช้ว่ายน้ำและมีเล็บขนาดเล็ก

อาหาร โดยมากแล้วพืชเป็นอาหารหลัก บางสายพันธุ์กินเนื้อสัตว์และแมลงเป็นอาหารเสริม กินสิ่งมีชีวิตเล็กๆในน้ำเป็นอาหารหลัก บางชนิดกินพืชผักในแหล่งน้ำด้วย
พฤติกรรม อยู่บนพื้นดินตลอดเวลา เวลาเดินจะยกตัวสูงเพื่อไม่ให้ท้องขูดกับพื้นดิน ใช้เวลาอยู่ในน้ำเป็นส่วนใหญ่และจะขึ้นมาอาบแดดไม่นาน วิธีเคลื่อนไหวบนพื้นดินจะดูเหมือนคลานมากกว่าเดินเพราะเต่าน้ำจะเคลื่อนที่บนบกได้ไม่คล่องแคล่วนัก

 

 

อยากเลี้ยงเต่า ต้องมาหาเรา ReptileHiso.com
อยากได้อาหารเต่า ติดต่อเรา ReptileHiso.com
อยากได้อุปกรณ์เลี้ยงเต่า ติดต่อเรา ReptileHiso.com
ฟาร์มเต่ายักษ์ ReptileHiso จำหน่าย
ลูกเต่าบก, เต่าซูคาต้า, อาหารเต่าบก, Mazuri, Repcal, วิตามิน, แคลเซียม, ถาดอาหารเต่า, ถาดน้ำเต่า
อุปกรณ์เลี้ยงเต่า, หลอดไฟจำลองแสงอาทิตย์, หลอดความร้อน, หลอด UVA, หลอด UVB, ExoTerra, ZooMed
เต่าป่วย เต่าไม่สบาย อุปกรณ์ชุดหลอดไฟ จำลองแสงอาทิตย์ กระตุ้นการกิน การเดิน การดำรงชีวิต

??
ติดต่อ ReptileHiso ได้ที่ :
Line id : @003gtbnj
Add Line Official : https://lin.ee/XCKIL3n
Facebook Fanpage : http://www.fb.me/sayrepfanpage
web : http://www.reptilehiso.com

สนใจสินค้าเพื่อน้องเต่าสุดที่รัก คลิกเลย

Add Line@ Official Reptilehiso เพื่อรับสิทธิพิเศษมากมาย !

ID : @003gtbnj

??
อยากเลี้ยงเต่า ต้องมาหาเรา Reptilehiso.com

#เต่าบก #เต่าซูคาต้า #เต่ายักษ์ #วิธีเลี้ยงเต่า
#อาหารเต่าบก #อาหารเต่ามาซูริ #อาหารเต่าMazuri #อาหารเต่าRepcal#อุปกรณ์เลี้ยงเต่า #หลอดไฟเต่า #อาหารเต่า

Loading